Intelligent Telecom Solutions Co.,Ltd.




MEDICAL EQUIPMENT





เครื่องวัดความดัน (SPHYGMOMANOMETER)

มีหลักฐานการศึกษาทางการแพทย์ที่พิสูจน์แล้วว่าการวัดความดันโลหิตเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง ซึ่งเครื่องวัดความดันช่วยวินิจฉัยภาวะต่าง ๆ ได้ดังนี้

มีหลักฐานการศึกษาทางการแพทย์ที่พิสูจน์แล้วว่าการวัดความดันโลหิตเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง ซึ่งเครื่องวัดความดันช่วยวินิจฉัยภาวะต่าง ๆ ได้ดังนี้

เบาหวาน

ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (arterial hardening)

ผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว (arterial plaque)

ภาวะความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตสูงยังเกี่ยวข้องกับหลายโรค โดยมีอุปกรณ์หลายชนิดที่ใช้วัดความดันโลหิต ได้แก่

1. เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดวัดด้วยมือ (Manual Sphygmomanometer) ซึ่งเชื่อถือได้มากที่สุด เครื่องวัดความดันชนิดใช้ปรอทไม่จำเป็นต้องทำการปรับให้เที่ยงตรงเป็นประจำ จึงใช้ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง

2. เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดขดลวด (Aneroid Sphygmomanometer) มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าเล็กน้อย เนื่องจากอาจเสียความเที่ยงตรงไปได้เมื่อตกกระแทก ซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อยในการทำงาน ดังนั้นเครื่องชนิดนี้รุ่นที่มีที่หุ้มป้องกันจะช่วยลดโอกาสการเสียหายจากการตกได้ แต่เพื่อให้แน่ใจ ก็ควรตรวจสอบความเที่ยงตรงด้วย โดยเครื่องวัดความดันชนิดขดลวดจะขึ้นตัวเลขค่าความดันให้อ่านได้ และมีลูกยางที่มีลิ้นกั้นอากาศ

3. เครื่องวัดความดันจากนิ้วมือชนิดดิจิตัล (Digital finger blood pressure monitor) เป็นเครื่องวัดความดันที่เล็กที่สุดและพกพาง่ายที่สุด ซึ่งแม้จะใช้งานได้ง่าย แต่ความแม่นยำก็อาจน้อยกว่าหน่อย

4. เครื่องวัดความดันชนิดดิจิตัล (Digital Sphygmomanometer) เป็นอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์เช่นเดียวกับเครื่องวัดความดันจากนิ้วมือชนิดดิจิตัล ซึ่งสามารถทำให้ปลอกแขนวัดความดันขยายใหญ่ขึ้นได้ทั้งจากการบีบมือหรือโดยอัตโนมัติ เครื่องชนิดนี้ใช้งานง่าย แต่ไม่ได้วัดความดันโลหิตออกมาโดยตรง ตัวเลขที่วัดได้หมายถึงความดันของเส้นเลือดแดง (Arterial pressure) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของความดัน Systolic และความดัน Diastolic ซึ่งเครื่องวัดความดันชนิดนี้จะต้องมาประมวลผลอีกรอบว่าความดัน Systolic และความดัน Diastolic จะเป็นเท่าไหร่ เครื่องมือนี้จะเป็นประโยชน์ในสถานที่ที่มีเสียงดังซึ่งเครื่องมือชนิดวัดมือจะด้อยประสิทธิภาพ เนื่องจากแพทย์จะต้องคอยฟังเสียง Korotkoff sound ในการวัดความดันโลหิตแบบวัดมือ


Manual Sphygmomanometer


Aneroid Sphygmomanometer


Digital finger


Digital Sphygmomanometer

เครื่องกระตุุ้นหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator)

เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า ชนิดอัตโนมัติ AEDในภาวะวิกฤติทางการแพทย์หลายอย่างนั้น ภาวะหัวใจหยุดเต้นเป็นภาวะหนึ่งที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ในการปฐมพยาบาลผู้ที่หัวใจหยุดเต้นด้วยการ CPR แล้ว หลังจากนั้น (ในเวลาอันสั้น) มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่จะช่วยให้หัวใจกลับมาเต้นตามเดิมด้วยตัวมันเองได้ อุปกรณ์นี้เรียกว่า Automated External Defibrillator ย่อว่า “AED”

AED คือ เครื่องวินิจฉัยการเต้นของหัวใจ และ สามารถกระตุกหัวใจด้วย Pulse ไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นได้ปกติอีกครั้ง โดยเครื่อง AED นี้จะมีข้อจำกัดเหมือนกับเครื่องกระตุกหัวใจแบบอื่นๆ คือ ช่วยได้เฉพาะภาวะที่หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบสั่นพริ้วหรือ หัวใจห้องล่างเต้นเร็ว (VT) หรือ แผ่วระรัว (VF)


สำหรับเครื่อง AED เป็นเครื่องมือ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบบอิเล็กทรอนิกส์พกพา ซึ่งประชาชนทั่วไปที่ได้รับการฝึกฝนการใช้ก็สามารถใช้เครื่องนี้ได้ ภายใต้คำแนะนำของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินผ่านสายด่วน 1669 โดยเมื่อมีการเปิดการใช้งานของเครื่อง AED เครื่อง ก็จะสามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และสามารถให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจได้โดยใช้กระแสไฟฟ้าหยุด รูปแบบการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้องได้ โดยการรักษานั้นระบบอิเล็กทรอนิกส์ในเครื่องจะออกคำสั่งให้เราเป็นผู้ ปฏิบัติตามได้ คือเริ่มแรกผู้ที่ทำการช่วยเหลือจะต้องเปิดฝาเครื่องAED และฉีกซองบรรจุอิเล็คโทรด โดยแผ่นอิเล็คโทรดจะมีอยู่ 2ชิ้น คือ ชิ้นแรกจะต้องนำไปติดบนทรวงอกตอนบนของผู้ป่วย และแผ่นที่สองจะต้องติดบนผิวทรวงอกตอนล่างของผู้ป่วย จากนั้นเครื่อง AED จะ ทำการวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งขณะนี้ห้ามผู้ที่ช่วยเหลือสัมผัสตัวผู้ป่วยเด็ดขาด จากนั้นเมื่อเครื่องวินิจเสร็จเสร็จแล้วจะขึ้นสัญญาณให้ทำการช็อคไฟฟ้า ให้ผู้ช่วยเหลือกดที่ปุ่มช็อคตามสัญญาณที่ปรากฏอยู่บนตัวเครื่อง และสลับกับการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหรือCPR อย่างต่อเนื่อง จนกว่าเจ้าหน้าที่กู้ชีพจะมาถึง โดยการช่วยเหลือควรทำภายใน 3-5 นาที จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินได้มากขึ้น

วิธีการใช้งานเครื่อง AED


1. เริ่มแรกผู้ที่ทำการช่วยเหลือจะต้องเปิดฝาเครื่อง AED และฉีกซองบรรจุอิเล็คโทรด โดยแผ่นอิเล็คโทรดจะมีอยู่ 2 ชิ้น คือ ชิ้นแรกจะต้องนำไปติดบนทรวงอกตอนบนของผู้ป่วย และแผ่นที่สองจะต้องติดบนผิวทรวงอกตอนล่างของผู้ป่วย

2. จากนั้นเครื่อง AED จะทำการวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งขณะนี้ห้ามผู้ที่ช่วยเหลือสัมผัสตัวผู้ป่วยเด็ดขาด

3. จากนั้นเมื่อเครื่องวินิจเสร็จเสร็จแล้วจะขึ้นสัญญาณให้ทำการช็อคไฟฟ้า ให้ผู้ช่วยเหลือกดที่ปุ่มช็อคตามสัญญาณที่ปรากฏอยู่บนตัวเครื่อง และสลับกับการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหรือ CPR อย่างต่อเนื่อง จนกว่าเจ้าหน้าที่กู้ชีพจะมาถึง โดยการช่วยเหลือควรทำภายใน 3-5 นาที จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินได้มากขึ้น



การดูแลรักษาเครื่อง AED



เนื่องจาก AED เป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อน และมีอายุการใช้งาน ทำให้เมื่อถึงเวลาหนึ่ง จะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่และ PAD ซึ่งถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนเป็นประจำ อาจจะทำให้เครื่อง AED ไม่สามารถใช้งานได้เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน

สำหรับบริการเช่านั้น เพื่อป้องกันการลืมเปลี่ยน ทาง its จะดูแลเรื่องอุปกรณ์ดังกล่าวให้ โดยเมื่อใกล้ถึงวันหมดอายุการใช้งาน its จะเข้าไปเปลี่ยนให้อัตโนมัติ และเมื่อมีการใช้งาน AED เกิดขึ้น ทาง its จะติดต่อผู้ใช้ เพื่อเข้าไปเปลี่ยนให้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เมื่อใช้งาน AED ไปแล้วผู้ใช้สามารถติดต่อมาที่ its เพื่อให้ its ส่งข้อมูลการวินิจฉัยโรคจากเครื่อง AED ไปยังโรงพยาบาล เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการรักษาต่อไปได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

เครื่องกระตุ้นหัวใจ AED







 Intelligent Telecom Solutions Co.,Ltd.

SUBSCRIBE

Get its.co.th news, tip and solutions to your problems from our experts.